การขับเสภา


การขับเสภา




 หลักในการขับเสภา
1.ขั้นตอนการเอื้อน โดยมีข้อสังเกตุว่าถ้าบททั่วไปเอื้อนสั้น ถ้าบทเศร้าจะเอื้อนยาว ถ้าเศร้ามากจะเอื้อนยาวเหมือนเพลงหม้ายขันหมาก เช่นนั้น..
  -การเอื้อนสั้น เช่น
 ...เอ๊ย....จะกล่าวถึง/พลายงาม/ทรามสวาท  
เฉลียวฉลาด/แล้วกล้า/วิชา..เฮ้อ..เออ..ขยัน..ฮื้อ..
  -การเอื้อนกลางๆ เช่น
...เฮ้อ.......เงอ.................เอ่อ.....เอย...................ยาฮื้อ..
เจ้าพลายงาม/ความแสน/สงสารแม่
ชำเลืองแล/ดูหน้า/น้ำตา.......เฮ้อ..เออ...../ไหล....ฮื้อ
แล้วกราบกราน/มารดา/ด้วย....อา..ลัย...เอ่อ..เฮ้อ..เอย
ลูกเติบใหญ่/คงจะมา/หาแม่...เอ่อ..เฮ้อ..เออ..คุณ
............................................................
............................................................
-บทสุดท้ายหากจะลงจบมีข้อสังเกตุเพื่อความไพเราะขึ้นนะ
ให้ขึ้นด้วยเสียงกลางๆในวรรค 1-2 และจะขึ้นเสียงสูงในวรรคที่ 3-4  เช่น
เหลียวหลัง/ยังเห็นแม่/แลเขม้น.....เออ...
แม่ก็เห็น/ลูกน้อย/ละห้อยหา..ฮื้อ..
แต่เหลียวเหลียว/เลี้ยวลับ/วับวิญญาณ์....เฮ้อ...เออ...
โอ้เปล่าตา/ต่างสะอื้น/ยืน...เฮ้อ...เออ..ตะลึง....เงอ...ฮื้อ
           ............................

ข้อ สังเกตุ การขับเสภาที่ดีนั้น ต้องอ่านบทให้รู้ก่อนว่าเป็นบทอย่างไร เพราะการขับจะต้องใส่อารมณ์ตามบทนั้นๆ การอ่านคำต้องชัดเจนโดยเฉพาะคำควบกล้ำ  การเว้นวรรคของบทกลอนสำคัญที่สุดถ้าเป็นกลอนหก ให้เว้นวรรค2/2/2 ถ้ากลอนเจ็ดให้เว้นวรรค 2/2/3 ถ้ากลอนแปดให้เว้นวรรค 3/2/3 ถ้ากลอนเก้าให้เว้นวรรค 3/3/3การทอดเสียงให้เกิดความไพเราะ  ผู้ที่ขับเสภาดีก็เหมือนร้องเพลงดีดีนี่แหละ
อีกอันหนึ่งคือการขับเสภา ต้องเคาะกรับประกอบการขับให้เป็นด้วย  ส่วนใหญ่แล้ว นิยมใช้กรับ  2  คู่ โดยผู้ขับจะต้องฝึกตีกรับให้ชำนาญเสียก่อน จังหวะการเคาะดังนี้...
การเริ่มเคาะ  เสียงกร๊อก...เป็นเสียงสั้น เป็นเสียงเริ่มต้นของมือข้างหนึ่ง....เสียงกรอ....เป็นเสียงยาว  ของมืออีกข้าง..สลับไปมาสัก3-4 ครั้ง จึงเริ่มเอื้อนสวน..
...เอ๊ย..เจ้าพลายงาม..(เคาะกรับ3-4 ครั้ง)...ความแสน/สงสารแม่..(เคาะกรับ 3-4 ครั้ง)
ชำเสืองแล  ..(เคาะ 3-4 ครั้ง)ดูหน้า/น้ำตา...เฮ้อ..เออ..ไหล ...(เคาะกรับ 3-4 ครั้ง)
ท่อนจบสุดท้ายเมื่อจบลงแล้วให้เคาะกรับไปประมาณ 4-5 ครั้งแล้วลงกรับเสียงสั้น....
3
การอ่านทำนองเสนาะ  หมายถึง  การอ่านเป็นทำนองเหมือนเสียงดนตรี มีการเอื้อนเสียงเป็นสัมผัสตามจังหวะ ลีลา และท่วงทำนองที่แตกต่างไปตามลักษณะบังคับของบทประพันธ์ ผู้อ่านต้องใส่เทคนิคใน
การทอดเสียงเอื้อนเชื่อมโยง มีลูกเล่น ลูกเก็บอย่างเป็นศิลปะ
หลักการอ่านทำนองเสนาะ
    1.  อ่านให้ถูกวิธี
         1.1 ไม่อ่านผิดสระ ผิดพยัญชนะ หรือผิดวรรณยุกต์
         1.2 การอ่านออกเสียงพยัญชนะ จ/ฉ/ช/ถ/ท/ช/ศ/ษ/ส/ร ให้ชัดเจน
         1.3 ควรออกเสียง ร ล ว และอ่านออกเสียง ร ล ให้ชัดเจน
   2. อ่านให้ถูกจังหวะ
         2.1 ควรรู้จักฉันทลักษณ์ของคำประพันธ์ที่จะอ่าน
         2.2 การอ่านทำนองเสนาะจะเร่งจังหวะเร็วขึ้นเมื่ออ่านบทที่เกี่ยวกับการโกรธและลดจังหวะช้าลง
เมื่ออ่านบทที่เกี่ยวกับความรักหรือความเศร้า ความเจ็บปวด
  3.  อ่านให้มีทำนอง
         3.1 ควรรู้จักลีลาที่เป็นไปตามจังหวะหรือทำนองการออกเสียงของคำประพันธ์แต่ละประเภท
         3.2 ควรอ่านทำนองคำประพันธ์ให้พอเหมาะกับเสียงตน
  4. อ่านให้มีเสียงดัง
         4.1  ควรอ่านทำนองเสนาะให้มีเสียงดังพอที่จะได้ยินทั่วกัน
         4.2 ควรรู้จักอ่านให้ดังฟังให้ชัดเจน ให้เสียงสัมผัส จังหวะและทำนองที่อ่านกระทบหูและใจ
   5. อ่านให้มีอารมณ์
         5.1 ควรเข้าให้ถึงรสและตีความให้ได้ว่าเป็นรสรัก โศก ตื่นเต้น คึกคัก หรือเกลียดชัง แล้วอ่านให้น้ำเสียง
               สอดคล้องกับรสหรืออารมณ์นั้นๆ
         5.2 ควรอ่านบทวรรณคดีให้มีสำเนียง อารมณ์ หรือความรู้สึกที่แท้จริงของกวี ย่อมทำให้ผู้อ่านและผู้ฟัง
               เข้าใจเนื้อเรื่องและสนุกไปด้วย
วิธีการอ่านกลอน
    1. ตามปกติกลอนแปด จะแบ่งจังหวะเป็ฯ สาม/สอง/สาม เสมอกันทุกวรรค โดยมีข้อเน้น คือจะต้องอ่าน
ให้ได้สัมผัส จะต้องอ่านเน้นสัมผัสนอก อันเป็นสัมผัสบังคับของคำประพันธ์นี้
    2. การใส่ทำนอง ปัจจุบันทำนองกลอนที่นิยมอ่านกันมาก คือทำนองนักเรียน ที่นักเรียนฝึกอ่านกันใน
โรงเรียนทั่วไป โดยในบทหนึ่งอ่านเป็นทำนองเสียงสูงในสองวรรคแรก และอ่านเป็นทำนองเสียงต่ำ
ในสองวรรหลัง
   3.  การใส่อารมณ์และความรู้สึกขณะอ่าน ให้เหมาะสมกับบรรยากาศของเรื่องที่กวีวางไว้ต้องการแสดง
ความรัก ความคึกคัก การคร่ำครวญ ซึ่งอาจจะอ่านเอื้อนเสียงกระแทกเสียง หรือทอดเสียงให้เหมาะสมเป็น
ตอน ๆ ไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น