วันจันทร์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2560

ห้องเรียนแห่งการเรียนรู้

การสร้างความรู้ การดักจับความรู้ และการเข้ารหัสความรู้

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การสร้างความรู้

การสร้างความรู้  (Knowledge Creation) หรือการแสวงหาความรู้  (Knowledg Acquisiton)
         เป็นกิจกรรมขององค์การที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อแสวงหาหรือสร้างความรู้ใหม่ขึ้น Brown & Dugaid (1998) กล่าวว่าความรู้จะเกิดขึ้นคนทำงานด้วยกันในกลุ่มซึ่งมีความสัมพันธ์กันอย่างเหนียวแน่น โดยการสร้างความร่วมมือ และการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลต่างๆ Takeuchi&Nonaka (2004) ได้แบ่งรูปแบบการสร้างความรู้เป็น 4 ประเภท คือ
           1.  การสร้างปฏิสัมพันธ์ทางสังคม (Socialzation) คือ การสร้างความรู้แบบไม่ชัดแจ้งเป็นความรู้แบบไม่ชัดแจ้ง โดยการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การฝึกอบรม และการแนะนำ เช่น การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการจัดทำประมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ของหน่วยงานต่างๆ
           2.  การปรับเปลี่ยนสู่ภายนอก (Externalization) คือ การพูดหรือบรรยายความรู้แบบไม่ชัดแจ้งเป็นความรู้แบบไม่ชัดแจ้ง โดยการใช้อุปมาอุปมัย การเปรียบเทียบ และการใช้ตัวแบบ เช่น การนำประสบการณ์จากการไปเห็นหน่วยงานต่างๆ ซึ่งมีคอมพิวเตอร์ในที่ทำงานเป็นจำนวนมาก แต่การใช้ประโยชน์ยังน้อยมาก จึงมีการเปรียบเทียบว่ามีคอมพิวเตอร์เป็นเสมือนเฟอร์นิเจอร์ทที่มาประดับห้องทำงานเท่านั้น การเปรียบเทียบดังกล่าวช่วยทำให้มองเห็นภาพได้ง่ายขึ้น
           3.  การปรับเปลี่ยนสู่ภายใน ( Internalzation) คือ การสร้างความรู้แบบชัดแจ้งให้เป็นความรู้แบบไม่ชัดแจ้ง โดยการเรียนรู้จากการปฏิบัติ ศึกษาจากความรู้ที่ได้เขียนไว้ในคู่มือ เอกสาร เพื่อเพิ่มพูนทักษะให้สูงขึ้น เช่น การซื้อตำราโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อนำมาฝึกฝนจนเกิดความชำนาญขึ้น
            4.  การผสมผสาน (Combination) คือ การสร้างความรู้แบบชัดแจ้งให้เป็นความรู้แบบชัดแจ้ง โดยการรวบรวมหรือบูรณาการองค์ความรู้ หรือสังเคราะห์ ความรู้ที่มีอยู่เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ขึ้นมาเช่น การนำองค์ความรู้ของวิชาคอมพิวเตอร์มาผสมผสานกับความรู้ด้านองค์การและการจัดการเกิดเป็นองค์ความรู้ในวิชาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ   
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

การดักจับความรู้ (Knowledge Capture) 

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การจัดการความรู้ (Knowledge Capture)
           คือ การรวบรวม สร้าง จัดระเบียบ แลกเปลี่ยน และประยุกต์ใช้ความรู้ในองค์กร โดยพัฒนาระบบจาก ข้อมูล ไปสู่ สารสนเทศ เพื่อให้เกิด ความรู้ และ ปัญญา ในที่สุด

           การจัดการความรู้ประกอบไปด้วยชุดของการปฏิบัติงานที่ถูกใช้โดยองค์กรต่างๆ เพื่อที่จะระบุ สร้าง แสดงและกระจายความรู้ เพื่อประโยชน์ในการนำไปใช้และการเรียนรู้ภายในองค์กร อันนำไปสู่การจัดการสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับการดำเนินการธุรกิจที่ดี องค์กรขนาดใหญ่โดยส่วนมากจะมีการจัดสรรทรัพยากรสำหรับการจัดการองค์ความรู้ โดยมักจะเป็นส่วนหนึ่งของแผนกเทคโนโลยีสารสนเทศหรือแผนกการจัดการทรัพยากรมนุษย์

           รูปแบบการจัดการองค์ความรู้โดยปกติจะถูกจัดให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ขององค์กรและประสงค์ที่จะได้ผลลัพธ์เฉพาะด้าน เช่น เพื่อแบ่งปันภูมิปัญญา,เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน, เพื่อความได้เปรียบทางการแข่งขัน, หรือเพื่อเพิ่มระดับนวัตกรรมให้สูงขึ้น

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

การเข้ารหัสความรู้ (Knowledge Access) 
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ (Knowledge Access)


        การเข้ารหัสถึงความรู้ (Knowledge Access) องค์กรต้องมีวิธีการกระจายความรู้เพื่อให้เกิดการนำไปใช้ประโยชน์โดยทั่วไปการส่งหรือ กระจายความรู้ให้ผู้ใช้้มี 2 ลักษณะ  คือ
Push (การป้อนความรู้) คือการส่งข้อมูล/ความรู้ให้ผู้รับโดยผู้รับไม่ได้ร้องขอ หรือ ต้องการเป็นการให้แบบ Supply-based เช่น การส่งหนังสือเวียนแจ้งให้ทราบ เกี่ยวกับกิจกรรมต่างๆ ข่าวสารต่างๆ หรือข้อมูลต่างๆ ซึ่งโดยทั่วไปมักจะทําให้ผู้รับ รู้สึกว่าได้รับข้อมูล/ความรู้ มากเกินไปหรือไม่ตรงตามความต้องการ
Pull (การให้โอกาสเลือกใช้ความรู้) คือ การที่ผู้รับสามารถเลือกรับหรือใช้แต่เฉพาะข้อมูล/ความรู้ที่ต้องการเท่านั้น ซึ่งทำให้ลดปัญหาการได้รับข้อมูล/ความรู้ที่ต้องการมากเกินไปการกระจายความรู้แบบนี้เป็น Demand-based


แหล่งอ้างอิง   
1. การสร้างความรู้ http://tak.dnp.go.th/Home_files/Division/dumri/km/km1.html  
2. การดักจับความรู้ http://www.prachasan.com/kmcorner/captureKnowledge.pdf   
3. การเข้ารหัสความรู้  http://kmcenter.rid.go.th/kmc08/km_54/e_xam_km54/book2/km8-3.pdf